8 นาที รู้เรื่อง PDPA กฎหมายที่กระทบคนไทยทุกคน [มีคลิป]

BLOG NEWS & ACTIVITIES

ทราบหรือไม่ว่าประเทศไทยของเรามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้วนะ? กฎหมายตัวนี้มีชื่อเรียกว่า Personal Data Protection Act หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PDPA ซึ่งมีผลกระทบกับเราคนไทยทุกคน! ทำผิดมีโทษทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง โดยมีโทษปรับสูงถึง 5 ล้านบาทและจำคุกสูงสุด 1 ปี

ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด (DBC) และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI) ให้สัมภาษณ์ในรายการ Digital Thailand (From Home) รูปแบบพิเศษสืบเนื่องมาจากช่วงโควิด-19 เกี่ยวกับเรื่อง PDPA ว่าคืออะไรและมีผลกระทบต่อคนไทยทุกคนอย่างไร? พร้อมยกตัวอย่างให้เราเข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น บทสัมภาษณ์ของ “อาจารย์โดม” ฉบับเรียบเรียงใหม่โดย ICDL PDPC ความยาว 8 นาทีนี้ จะช่วยให้ทุกคน รู้เรื่อง PDPA มากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

 

และอย่าลืมกดติดตามเรื่องราวดี ๆ จากช่อง YouTube ของเรา: Digital Business Consult

……………………………………………………………………………………

PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร?

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายฉบับใหม่ หนึ่งในหลาย ๆ กฎหมายที่รัฐบาลไทยตราขึ้นมาเพื่อทำให้การทำธุรกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคนั่นเอง

ขอบข่ายของกฎหมายครอบคลุมทั้งออนไลน์และออฟไลน์?

แม้ว่าเราจะเริ่มต้นพูดถึงในแง่มุมของยุคดิจิทัลก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมทุกกิจกรรมการเก็บข้อมูล หรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ

  • การมีคนโทรศัพท์หาเราเพื่อขายสินค้าหรือบริการแบบ Cold Call เราก็จะงงมากว่าเขาเอาเบอร์โทรศัพท์ของเรามาจากไหน นี่ก็คือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีคนเก็บรวบรวมแล้วเอามาใช้กับเรา สังเกตได้ว่าประเด็นนี้ไม่ใช่ดิจิทัล
  • การสมัครงานแล้วกรอกข้อมูลส่วนบุคคลในกระดาษ หรือทุกวันนี้เราไม่กรอกใส่กระดาษแล้วแต่ส่งเป็นอีเมลไป ซึ่งเวลาสัมภาษณ์งาน ทางบริษัทหรือองค์กรอาจจะปริ้นข้อมูลออกมาเป็นกระดาษเพื่อเอาไว้ตรวจสอบและพูดคุยกับเราถูกไหมครับ? คำถามก็คือ กระดาษที่เป็นประวัติของเรา (ข้อมูลส่วนบุคคล) เขาเอาไปทำอะไรต่อ เราก็อาจจะเห็นว่ากระดาษแผ่นนี้หลุดออกไปเป็นถุง “กล้วยแขก” เป็นต้น นี่แหละครับก็คือการเอาข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้หรือเอาไปให้คนอื่น ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ซึ่งคนอื่นถ้าเขาดูถุงกล้วยแขกก็อาจได้ข้อมูลของเรา เป็นต้น
 

เพราะฉะนั้น กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้อิงเฉพาะอะไรก็ตามที่เป็นดิจิทัล แต่ยังรวมถึง การเก็บหรือรวบรวม หรือการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทุกประเภททุกวิธีการ

PDPA มีผลกระทบกับใครบ้าง?

  • การขายของออนไลน์ เราก็ชอบให้คนมา Inbox ชื่อ-นามสกุล ให้เลขบัญชีเพื่อโอนเงินกัน นี่ก็ถือว่าเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ทุกคน ทุกองค์กรที่มีการเก็บรวบรวม หรือควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของคนอื่นเกี่ยวข้อกับกฎหมายฉบับนี้ทั้งหมด
  • ภาคธุรกิจทุกประเภท ซึ่งหลายคนคงจะบอกว่าทำธุรกิจค้าส่ง ไม่ได้เก็บข้อมูลผู้บริโภค แต่ถามว่าคุณเก็บข้อมูลของพนักงานไหม? การเก็บข้อมูลของพนักงานแปลว่าคุณเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เพราะฉะนั้นก็ได้รับผลกระทบตามกฎหมายฉบับนี้ด้วย
  • หน่วยงานราชการที่ให้บริการกับประชาชนมีการเก็บข้อมูลของประชาชนไหม? ถ้ามีก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้

เรียกได้ว่า ทุกคนต้องปรับตัวตามกฎหมายฉบับนี้หมดเลยครับ

คนที่ถูกเก็บข้อมูลต้องได้รับทราบว่าเขาถูกเก็บข้อมูล ถูกต้องไหม?

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะต้อง:

  • รับทราบว่าตนเองถูกเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
  • ยินยอมหรืออนุญาตให้มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
  • ต้องได้รับแจ้งว่าเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร และระยะเวลากำหนดว่าข้อมูลจะถูกเก็บไว้ยาวนานแค่ไหน
 

การลบข้อมูลส่วนบุคคลตาม PDPA จะต้องมีระบบที่สามารถลบได้ทันที?

เราต้องมีระบบให้แจ้งว่า ฉันจะไม่ให้คุณเก็บข้อมูลแล้ว ส่วนเรื่องของการลบจะเป็นเรื่องภายในองค์กรครับ สมมติว่าผม (อาจารย์โดม) เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคุณพิธีกร (คุณเอิ้น) วันดีคืนดีคุณเอิ้นบอกให้ช่วยลบข้อมูลของดิฉันหน่อย และผมก็รับปากว่าจะจัดการลบให้  คำถามคือลบจริงไหม? คุณจะไม่รู้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ตรวจสอบได้ว่าไม่ได้ลบ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถฟ้องร้องได้

“สิ่งที่คนกลัวมากที่สุดเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้ก็คือการฟ้องร้อง เพราะการฟ้องร้องมีค่าเสียหายทางปกครองมูลค่าสูงถึงประมาณ 5 ล้านบาทเลยทีเดียว”

 

ตามกฎหมายนี้ประชนชนทั่วไปมีสิทธิอะไรบ้าง?

ประชาชนต้องตระหนักถึงสิทธิการเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลครับ ต้องรู้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเรามีราคา มีค่างวด เมื่อจะมีใครเอาข้อมูลส่วนบุคคลของเราไป ต้องตระหนักก่อนว่ามีสิทธิให้หรือไม่ให้ ให้แค่ไหน ต้องรู้ว่าเรามีสิทธิที่จะยกเลิกข้อมูลที่เราให้เขาได้

เหมือนเช่นทุกวันนี้ที่เราเห็นโฆษณาบ่อย ๆ ผ่านเฟซบุ๊ก ผ่านกูเกิ้ล โฆษณามาถึงมือถือเรา ซึ่งข้อมูลโฆษณาพวกนี้ก็คือข้อมูลที่เขาเก็บเราไปแล้วนำมาใช้ยิงโฆษณา Retarget ตามหลอกหลอนเราได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นแล้ว เราสามารถกลับเข้าไปบนเฟซบุ๊กแล้วลบข้อมูลเราได้ เราไม่อยากให้เฟซบุ๊กจำว่าเราเคยไปท่องเพจไหน กดไลก์เพจ หรือไปคอมเมอนต์อะไรมาบ้าง ลบทิ้งได้หมด เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะไม่ค่อยทราบ

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก ผู้ที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทย (ที่อยู่ภายในราชอาณาจักรไทย) เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้กันทั้งนั้น รวมถึงเฟซบุ๊กซึ่งเป็นของต่างชาติด้วย

 

PDPA คุ้มครองข้อมูลของตัวผู้บริโภคทั่วไปอย่างไรบ้าง?

พอมีกฎหมายฉบับนี้ ทุกคนต้องระมัดระวังในการที่จะเอาข้อมูลของบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ชื่อ หรือข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (ที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคลลได้)

การถ่ายรูปหน้าตาของคนอื่นและเอาไปโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊กส่วนตัวก็เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

 

อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม :

แนะนำให้เข้าไปอ่านที่เว็บไซต์ pdpa.online.th นะครับ จะมีรายละเอียดของกฎหมาย รายละเอียดแนวปฏิบัติต่าง ๆ และกำลังเร่งทำพวก Guideline ต่าง ๆ ออกมาให้คนไทยครับผม

หลังจากการรับชมคลิปวิดีโอนี้ หวังว่าทุกท่านจะ รู้เรื่อง PDPA มากขึ้นนะครับ …

 

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

 

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

‘สรุปประเด็นสำคัญ’ จากงานสัมมนาแนวทางการบังคับใช้กฏหมาย PDPA 23 พ.ค.2565

BLOG NEWS & ACTIVITIES

23 พ.ค.2565 – พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดงานสัมมนา “แนวทางการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้ความสำคัญ ควบคู่ไปกับการผลักดัน และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 มีจุดมุ่งหมายเพื่อ กำหนดมาตรการในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไป โดยนับเป็นหนึ่งในชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกขีดจำกัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในการใช้บริการออนไลน์ในชีวิตประจำวัน

 

ประเด็นสำคัญ จากงานสัมมนาแนวทางการบังคับใช้กฏหมาย PDPA

  • PDPAมีประโยชน์ต่อประชาชน โดยประชาชนสามารถรับทราบวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บ การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างชัดแจ้ง  และมีสิทธิต่างๆ ที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของตน
  •  PDPAเป็นประโยชน์ต่อองค์กรภาครัฐ และเอกชน   หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จะมีมาตรฐานการจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล สร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจและองค์กร
  • กฏหมายนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมมาตรฐานตามหลักสากล โดยมีการสร้างมาตรฐานการใช้ เก็บ เผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคลของไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  รองรับการเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ของไทย ที่ต้องแข่งขันด้วยเทคโนโลยี และการบริหารจัดการข้อมูล
  • การใช้PDPA จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน โดยประชาชนสามารถมีความมั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้อย่างเป็นธรรม โปร่งใส และได้รับการดูแลมิให้มีการนำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิด
  • คณะกรรมการจะมีการทยอยประกาศใช้กฎหมายลูก เพื่อให้องค์กรทุกภาคส่วนได้มีการปรับตัวและ ดำเนินการอย่างถูกต้องเป็นขั้นเป็นตอน
  • การจำกัดการเข้าข้อมูล เป็นหนึ่งในหลักการที่บอกตัวตนของกฏหมาย PDPA มากที่สุดโดย ทางผู้รวบรวมข้อมูลจำเป็นต้องมีการคัดกรองบุคลากรที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้  กล่าวคือ ‘ยิ่งมีคนเข้าถึงข้อมูลน้อย ยิ่งปลอดภัย’  ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีง่ายๆที่ทุกองค์กรควรทำเพื่อสอดคล้องกัน PDPA

นอกจากนั้นภายในงานมีการแจกตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสาร เพื่อให้องค์กรต่างๆสามารถเข้าไปปลับใช้ได้

โดยท้ายของงานสัมมนาได้มีการกล่าวปิดท้ายว่า ‘กฏหมาย PDPA ไม่ได้ออกมาเพื่อห้ามใช้ แต่ มุ่งเน้นไปที่การจัดการข้อมูล และเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยเท่าที่จำเป็น’ ดังนั้นหลายองค์กรไม่ต้องกลัวถูกโทษปรับ เพราะกฏหมายนี้สร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริม และยกระดับธุรกิจดิจิทัลให้เท่าสากลได้อย่างแท้จริง!

>>> เข้าดูlive ฉบับเต็มได้ที่ :  https://fb.watch/dbce1GQXMK/

 

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

 

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

เผยประวัติ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผู้นำการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ PDPA ไทย

BLOG NEWS & ACTIVITIES

สถานการณ์โควิด-19 คือมรสุมครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติในทุกด้าน ไม่เว้นแม้แต่การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA ถูกขยายเวลาบังคับใช้มาถึง 2 ปี สืบเนื่องจากความยากลำบากและความไม่พร้อมของหลายภาคส่วน และส่งผลเป็นลูกโซ่ยังการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เพิ่งได้รับการประกาศลงในราชกิจจานุษาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา

ประกาศอย่างเป็นทางการ! แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีระยะเวลาทำงานก่อน PDPA บังคับใช้เต็มรูปแบบ 1 มิถุนายน 2565 แค่เพียง 4-5 เดือน กลายเป็นคำถามที่ใครหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เพียงพอหรือไม่?

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับคัดเลือกล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่พร้อมเป็นผู้นำการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลลของประเทศ ผ่านการจัดทำแผนแม่บทการดำเนินงาน ผลักดันแผนงาน ออกประกาศกำหนดเพื่อสร้างความชัดเจนในเชิงปฏิบัติ ส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานรัฐและเอกชน ตลอดจนองค์ความรู้แก่ประชาชน ฯลฯ โดยมีหน้าที่/อำนาจรวมทั้งหมด 13 ข้อด้วยกัน (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มาตรา 16) คาดว่าเราจะเห็นความเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมออกมาในอนาคตอันใกล้

PDPA Thailand เผยประวัติ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเราขอนำเสนอประวัติของประธานกรรมการ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 10 ท่าน ที่ได้รับคัดเลือกแต่งตั้ง เชื่อความเชี่ยวชาญของทุกท่านสะท้อนภาพการพัฒนาด้าน Data Protection ขีดสุดของไทย

คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

นายเธียรชัย ณ นคร – ประธานกรรมการ

เธียรชัย ณ นคร คือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีบทบาทด้านการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงผ่านการพัฒนาพลเมืองไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย โดย อ.เธียรชัย เคยดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง (สพม.) องค์กรที่พัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไป รวมถึงเป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ด้วยการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยรามคําแหง
  • เนติบัณฑิต สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (LLM) จาก University of Pennsylvania Carey Law School

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • ประธานกรรมการและอาจารย์ประจําสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อดีตเลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง (สพม.)
  • กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • ประธานอนุกรรมการตอบข้อหารือตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • อนุกรรมการพิจารณากําหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • อนุกรรมการกําหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อใช้เป็นรางวัลสําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • อนุกรรมการกําหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงิน การคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • อนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลสํานักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน)
  • รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
  • กรรมการในคณะกรรมการฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
  • ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ในคณะอนุกรรมการสามัญประจํากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมมลพิษ
  • อนุกรรมการวิชาการและพัฒนาระบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  • กรรมการบริหาร สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • ประธานกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายนวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ดร.นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ นายแพทย์ผู้ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลและสารสนเทศทางการแพทย์ เช่น การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้งานไอทีในโรงพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยเพื่อหาความสัมพันธ์ (Data Analytics) เป็นต้น จึงมีความเชี่ยวชาญในการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และเหมาะสมดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคค

การศึกษา:

  • แพทยศาสตรบัณฑิต รามาธิบดี (รามาธิบดี 33)
  • M.S. & Ph.D. (Health Informatics), University of Minnesota, USA

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • รองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • นักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

พันตำรวจโท เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

เธียรรัตน์ วิเชียรสรรค์ ข้าราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย มีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ด้วยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
  • อนุกรรมาธิการ ในคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน
  • อนุกรรมการกฎหมาย ในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความสนใจและเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญในการร่วมวางนโยบายและแผนการจัดตั้ง/พัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยเป็นกรรมการ คณะทำงาน และที่ปรึกษาในหลายโครงการ เช่น การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) การจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563 และโครงการแม่ฮ่องสอนไอทีวัลเล่ย์ เป็นต้น ด้วยความเชี่ยวชาญภายหลังจึงก้าวขึ้นเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

การศึกษา:

  • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • d’Etude Approfondise (DEA) และ Diplome d’Ingenieur (D.ING) จาก Institute National Polytechnique de Grenoble (INPG) ประเทศฝรั่งเศส

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ (สบทร.)
  • รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)
  • รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติปี (พ.ศ. 2536 และพ.ศ. 2545)
  • นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA)
  • คณะกรรมการกลางในการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด
  • ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์

ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ เป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ หัวหน้าสำนักวิชานิติศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไซเบอร์และการบังคับใช้ในเชิงสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง กฎหมายมหาชน และสิทธิมนุษยชน เป็นกระบอกเสียงในการแสดงข้อกังวลต่อกฎหมายไซเบอร์ รวมถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การศึกษา:

  • นิติศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขากฎหมายระหว่างประเทศ
  • Doctor in Law, PhD Program: Law and Political Science, Facultat de Dret Universitat de Barcelona

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หัวหน้าสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หัวหน้าศูนย์ศึกษากฎหมายกับเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ศาสตราจารย์ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภลักษณ์  พินิจภูวดล เป็นอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย โดดเด่นด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลากหลายแขนง โดยเฉพาะกฎหมายการเงิน ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายภาษีอากร กฎหมายการคลัง กฎหมายมหาชน กฎหมายภาษีทรัพย์สิน กฎหมายภาษีเงินได้ ฯลฯ

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาขั้นสูงทางการคลังและภาษีอากร มหาวิทยาลัยปารีส 2
  • ปริญญาโททางการคลังและภาษีอากร มหาวิทยาลัยปารีส 2
  • ปริญญาเอกทางกฎหมาย เกียรตินิยมดีมาก มหาวิทยาลัยปารีส 2
  • หลักสูตรกระบวนการบริหารการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 19
  • หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 2554 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • ประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
  • หลักสูตรคณะกรรมการอิสระ พ.ศ. 2552 (Director Certificate Program : DCP)
  • หลักสูตรสื่อสุขภาพ รุ่นที่ 1 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการเฉพาะกิจ โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ประธานหมวดวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และพิจารณาอุทธรณ์ภาษีกรุงเทพมหานคร
  • กรรมการสภาวิทยาลัยทองสุข
  • กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • อดีตที่ปรึกษากิตติมศักดิ์รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง (นางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา) (พ.ศ.2555)
  • อดีตประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 40 (7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555)
  • อดีตกรรมการสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2554 / 2556-2558)

ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ในฐานะศัลยแพทย์ (การผ่าตัด) ศาสตราจารย์ระดับ 11 และคณบดีประจำคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการทำงานวิจัยและเชี่ยวชาญด้านแพทยศาสตร์ศึกษา มีความสามารถและคุ้นเคยกับการบริหารงานโรงพยาบาลและตระหนักถึงข้อมูลที่ไหลเวียนในองค์กร ศาสตราจารย์ประสิทธิ์จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะดูแลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในเชิงลึกของหน่วยงาน/ธุรกิจกลุ่มสุขภาพ

การศึกษา:

  • วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรฯ สาขาศัลยศาสตร์ แพทย์สภา
  • Fellow of the Royal College of Royal College of Surgeons of Edinburgh, United Kingdom (F.R.C.S.Ed)
  • Doctor of Philosophy, University of London, United Kingdom
  • Fellow of the American College American College of Surgeons of Surgeons (F.A.C.S.), USA
  • หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ รุ่นที่ 3
  • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน
  • Certificate: Stanford Executive Program, Graduate School of Business, Stanford University, California USA
  • หลักสูตรเตรียมผู้บริหารระดับสูงของทบวงมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 8 (นบม.8)
  • หลักสูตร ST: Synergistic Teamwork สถาบันการบริหารการพัฒนาองค์การ รุ่นที่ 1
  •  หลักสูตร Project Management วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • หลักสูตร โครงการเตรียมผู้บริหารและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ระบบบริหาร (Mini MPA) รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • Education Advisor, Peking Union Medical College, China
  • ที่ปรึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นายกสภา สภาอาชีวศึกษา กทม. กระทรวงศึกษาธิการ
  • รองคณบดีและผู้อำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงเรียนแพทย์ศิริราช
  • รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและ พัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และรองคณบดีฝ่ายบริการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประธานกรรมการ คณะทำงานร่างข้อบังคับชุดคณะกรรมการด้านการบริหารงานบุคคล กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรมการ คณะกรรมการเตรียมการด้านการบริหารงานบุคคล เพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • บรรณาธิการวารสาร “สารศิริราช” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพ ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน

รื่นวดี สุวรรณมงคล คือหญิงแกร่งที่จบสายกฎหมายมาโดยตรง และมีประสบการณ์การทำงานมาอย่างโชกโชน ในหลายตำแหน่งสำคัญ ๆ ปัจจุบันกลับมารับตำแหน่งเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สานต่อการดูแลวงการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะ เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นอีกกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานขององค์กรในตลาดหลักทรัพย์โดยตรง เนื่องจากมีชุดข้อมูลทางการเงินที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยบทบาทหน้าที่และความสามารถ “พี่แป๋ว” จึงได้รับเลือกเป็น 1 ใน 10 อรหันต์ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต (LLM) Harvard Law School, Cambridge, Massachusetts, USA
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) University of California at Berkeley, USA
  • เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • กรรมการ คณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • กรรมการ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
  • กรรมการ คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  • กรรมการ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ
  • กรรมการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • กรรมการ และประธานกรรมการความเสี่ยง บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
  • กรรมการอิสระ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • ที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วุฒิสภา
  • อธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
  • อธิบดีกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
  • ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม และรองโฆษกกระทรวงยุติธรรม
  • รองผู้อำนวยการ สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
  • รองอธิบดี กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
  • ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
  • ที่ปรึกษาเฉพาะด้านกฎหมาย (นิติกร 9 ชช) สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม
  • ประธาน คณะทำงานศึกษาและยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 257/2560 เรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาและยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกันทางธุรกิจ
  • กรรมการ คณะกรรมการวิชาการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • กรรมการ คณะกรรมการสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (International Union of Judicial Officers: UIHJ)
  • เลขานุการและกรรมาธิการวิสามัญในคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • กรรมาธิการวิสามัญในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมาย (หลายฉบับ)
  • กรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (มหาชน)
  • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นางเมธินี เทพมณี – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ)

เมธินี เทพมณี เป็นสตรีตัวอย่างอีก 1 คนที่มีโอกาสได้แสดงความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้รับการยอมรับจากสังคม และผู้นำขององค์กรในหลายด้าน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการปฏิรูปประเทศ ปลัดกระทรวง และเลขาธิการของสำนักต่าง ๆ ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับโทรคมนาคมและเทคโลยีสารสนเทศ จนได้รับการเชิดชูเกียรติจากสมาคม/เครือข่ายสตรี

การศึกษา:

  • บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Master of Business Administration, UNIVERSITY OF BRIDGEPORT, USA
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • ผู้ตรวจราชการพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • ประธานคณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน
  • หัวหน้า/รองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระหว่างประเทศ องค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Telecommunity: APT)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมรัฐมนตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของภูมิภาคสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมสภาบริหารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (2015)
  • รองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมใหญ่ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม (2014)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 15 และสมัยพิเศษ
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้ TELSOM
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทย การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ
  • ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานโครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ทั่วราชอาณาจักรของกรมสรรพากร
  • ฝ่ายบริหารจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ราชพัสดุทั่วราชอาณาจักรของกรมธนารักษ์
  • ฝ่ายเลขานุการการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 2 ของประเทศไทย
  • อาจารย์พิเศษ/ผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตร วิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้ผลิตหลักสูตรร่วมวิชา “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บภาษี” มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ) ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นายอนุสิษฐ คุณากร – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การรักษาผลประโยชน์ของชาติ)

อนุสิษฐ คุณากร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบาย/ยุทธศาสตร์ความมั่นคง การจัดทำแผนและฝึกซ้อมบริหารวิกฤติการระดับชาติ และงานความร่วมมือระหว่างประเทศและการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง

การศึกษา:

  • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในอดีตและปัจจุบัน:

  • อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่น (การรักษาผลประโยชน์ของชาติ) ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
PDPA Thailand ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก:

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

โครงสร้าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานราชการ ควรรู้ !

BLOG NEWS & ACTIVITIES
เขียนโดย : โสภณวิชญ์ ทองหนู
ทีมที่ปรึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จาก PDPA Thailand

 

ในปัจจุบันนี้ในหน่วยงานราชการต่างๆ มีเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมากมายทั้งรูปแบบออนไลน์ และประกาศตามสื่อต่างๆ โดยมีการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบ เป็นประโยชน์  และประชาชนสามารถทราบสิทธิของตนเอง รวมถึงการที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง สามารถอ่าน พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ฉบับเต็มได้ที่นี่ คลิก 

เหตุผลในการ ตรา พ.ร.บ : 

  1. กำหนดให้หน่วยงานราชการรับรองสิทธิที่จะได้รู้ของประชาชน
  2. กำหนดให้หน่วยงานราชการคุ้มครองข่าวสารบางประเภท
  3. กำหนดให้หน่วยงานราชการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

ประโยชน์ของ พ.ร.บ : 

  1. ประชาชนสามารถขอข้อมูลกับหน่วยงานราชการได้
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อหน่วยงานราชการ
  3. พัฒนาระบบการเมืองและระบบราชการ
  4. พิทักษ์สิทธิของประชาชน

 

สิทธิของประชาชนที่สามารถใช้ได้กับหน่วยงานราชการ 

  • สิทธิของประชาชนที่สามารถขอใช้สิทธิได้จากทางหน่วยงานรัฐมีทั้งหมด  6 สิทธิ ดังนี้
    1. เข้าตรวจดู คือ ข้อมูลข่าวสารบางประเภทที่ประชาชนจะระบุไว้ว่าสามารถให้เข้าดูได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องร้องขอ หรือ จะขอสำเนาหรือรับรองสำเนาไว้ก็ได้
    2. ยื่นขอดู คือ ถ้าต้องการรู้ทำการขอดูข่าวสารที่อยากรับรู้ ต้องได้รับการอนุญาตโดยที่จะมีเวลาระยะกำหนดไว้ 
    3. ขอดูตัวเอง คือ ข้อมูลของตัวเองที่ทางรัฐได้เก็บไว้ หรือ ขอแก้ไขข้อมูลของตัวเองก็ได้ และ ขอแก้ไขแทนผู้ตายได้และผู้เยาว์
    4.  ห้ามนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม คือ ข้อมูลบางอย่างหน่วยงานที่ไปเก็บมาจากประชาชน ต้องเอาใช้ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และ ต้องมีกฎหมายชัดเจน ตอนที่ขอที่เก็บข้อมูลต้องระบุให้ได้ว่าอาศัยตามพ.ร.บ อะไร และเจ้าหน้าที่นั้นมีอำนาจหรือไม่ และต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง
    5. สิทธิร้องเรียน คือ ประชาชนสามารถมีการสามรถร้องเรียนต้องการข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาหรือข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนขอหรือการคัดสำเนาโดยสามารถร้องเรียนได้กับได้กับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร หรือ คกก.ข้อมูลข่าวสาร
    6. สิทธิอุทธรณ์ คือ จะเป็นคำสั่งทั้งหมดในรูปแบบเกี่ยวกับข้อมูลสารราชการ โดย มีคณะกรรมการวินิจฉัย หรือ คกก.วินิจฉัยข้อมูลข่าวสารทางราชการ

บทนิยาม : ข้อมูลข่าวสาร

ข้อมูลข่าวสาร คือ ข้อมูลที่สามารถสื่อความหมายได้ มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

  1. โดยสภาพ คือ ข้อความที่ความหมายในตัวเองบนสำเนา หรือ กระดาษ
  2. โดยแปลงสภาพ คือ แฟลชไดร์ หรือ ตัวเลขในเครื่องคิดที่ได้คิดมาแล้ว

 

ข้อมูลข่าวสาร + ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

ข้อมูลข่าวสาร + ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ คือ ข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง หรือควบคุมของหน่วยงานของรัฐ และ หมายถึง หน่วยงานของรัฐทุกรูปแบบทุกประเภท ยกเว้น แต่เรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาคดีของศาล ฉะนั้นแล้ว พ.ร.บนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี

ข้อมูลข่าวสาร+ส่วนบุคคล 

ข้อมูลข่าวสาร+ส่วนบุคคล คือ สิ่งเฉพาะตัวของบุคคล สิ่งที่คุณไม่มีเหมือนคนอื่น  เช่น ที่อยู่,ประวัติการรักษา,เลขบัตรประจำตัว และ เบอร์โทรศัพท์ 

 

สิ่งที่สำคัญหรือหัวใจใน พ.ร.บ นี้คือ ‘เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น’

เปิดเผยเป็นหลัก คือ ถ้าประชาชนได้มียื่นขอดูข้อมูลข่าวสารก็สามารถเปิดเผยได้ ถ้าไม่ใช่เรื่องละเอียดอ่อนหรือไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายได้ระบุไว้

ระดับการเปิดเผยตามกฎหมายระบุคือ 

  1. เปิดแบบประกาศ คือ เปิดตามราชกิจจาณุเบกษา ทั้งทางตรงและทางอ้อม 
  2.  เปิดแบบวางไว้ให้ไปดูเอง คือ การเข้าไปเอกสารที่ได้จัดเตรียมไว้ของรัฐ เช่น จัดสถานที่,จัดห้องเอกสาร หรือ ขอคัดสำเนาได้ แม้ไม่ใช่เจ้าของข้อมูลก็ตาม
  3. เปิดแบบ ขอก่อนถึงให้ดู คือ ไม่มีการประกาศใดๆทั้งสิ้นแต่ต้องทำการขออนุญาตก่อนถึงจะขอดูได้ ถึงแม้ไม่ใช่ผู้เกี่ยวข้องก็ตาม

 

ทั้งนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนไม่ทำตามหน้าที่ ไม่ลงประกาศหรือไม่ดำเนินงานและไม่ปฏิบัติตามคำขอ ประชาชนสามารถร้องเรียนต่อ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร(คกก.ข้อมูลข่าวสาร) จะพิจารณาภายใน 30 วัน แต่จะขยายได้รวมการพิจารณาไม่เกิน 60 วัน

ปกปิดเป็นข้อยกเว้น คือ เรื่องที่ไม่สามารถเปิดเผยต่อประชาชนได้ โดยถ้าต้องการให้เป็นเผยต้องทำการขออนุญาตสะก่อน โดยทางคณะกรรมการจะใช้ดุลยพินิจว่าสมควรหรือไม่

ระดับการปกปิด

  1. ปิดการเปิดเผยแบบมิสามารถเปิดเผยได้เลย คือ เรื่องสถานบันพระมหากษัตริย์เกิดความเสียหาย
  2. ปิดก็ได้ หรือ เปิดก็ได้ คือ ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ พ.ร.บ 7 ข้อ แต่ถ้าต้องการให้เปิดเผยนั้น ต้องมีการพิจารณาดังนี้ 
    • ตามการรักษาความลับ
    • สอบถามผู้ที่จะได้รับผลกระทบว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้าจะไม่รับฟังคำคัดค้านต้องออกคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน โดย

                      1.รอจนพ้นเวลาอุทธรณ์

                      2.รอจนคณะกรรมการวินิจฉัย พิจารณาเสร็จ

 แต่ถ้าจะปิดข้อมูลข่าวสาร ต้องออกคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลแจ้งกับผู้ขอข้อมูล โดยต้องเป็นคำสั่งดังนี้

  • คำสั่งไม่เปิดเผย
  • คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน
  • คำสั่งไม่ยอมให้แก้ไข , ลบ ข้อมูลข่าวส่วนบุคคล

สรุปได้ดังนี้ หน่วยงานราชการนั้นสามารถเปิดเผยข่าวสารให้กับประชาชนได้อย่างเปิดเผย และความโปร่งใส ตามขอบเขตที่ได้กำหนดไว้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้และเข้าถึงข่าวสารของหน่วยงานราชการ และ สิ่งที่หน่วยงานราชการนั้นได้ทำหรือพัฒนาต่อประเทศหรือได้ทำอะไรไปบ้างต่อประชาชน 

 

อ้างอิง :  พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

 

 

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

‘อ.เยี่ยมศักดิ์ คุ้มอินทร์’ แนะ 10 ขั้นตอนการจัดการองค์กรภาครัฐให้สอดคล้องกับกฏหมาย PDPA !

NEWS & ACTIVITIES

9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมาสมาคมนักศึกษาเก่า สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมกับ PDPA Thailand มีการจัดอบรม กับหัวข้อเสวนา ประเด็น “ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารของราชการ กับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” เรื่องที่ช่วยให้คุณเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายทั้งสองฉบับ รวมถึงปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับส่วนที่อาจทำให้เข้าใจผิดในบางประเด็น

ในการอบรม อ.เยี่ยมศักดิ์ คุ้มอินทร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดิน และการบังคับใช้กฏหมาย เปิดใจยอมรับว่า การบังคับใช้ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ที่ผ่านมายังมีอุปสรรค ทั้งจากวัฒนธรรมและการดำเนินงานของข้าราชการไทย และจากข้อจำกัดบางอย่างที่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน PDPA น้อย มีงบจำกัด รวมถึงเนื้อหาของตัวกฎหมายที่ค่อนข้างใหม่ ทำให้การดำเนินงานตามกฏหมาย PDPA เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป  และได้ฝากถึงขั้นตอนที่หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการเพื่อตอบรับกับกฎหมายฉบับนี้ ดังนี้

10 ขั้นตอนการจัดการองค์กรภาครัฐให้สอดคล้องกับกฏหมาย PDPA ! 

1. ตั้งคณะทำงานดูแลเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  องค์กรจำเป็นต้องจัดให้มีคณะกรรมการทำงานดูแลเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Committee) ซึ่งการจัดตั้งนั้นถูกคัดเลือกและแต่งตั้งจากความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความสามารถอันเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงหัวหน้าหรือผู้มีอำนาจสั่งการและสามารถนำแนวทางปฏิบัติให้แก่องค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

2. ศึกษาวิเคราะห์การไหลเวียนข้อมูลขององค์กร   หลังจากมีการแต่งตั้งคณะทำงานดูแลเรื่องการคุ้มครองข้อมูลฯ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมีการดูแลว่ามีการไหลเวียนข้อข้อมูลอย่างไร มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างไร ข้อมูลไหลจากใครไปหาใคร เพื่อให้มีการจัดการ หรือตั้งมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสมของแต่ละแผนก

3. วางแผนการปรับปรุง   องค์กรจำเป็นต้องมีการจัดการประชุมหารือเพื่อวางแผน ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และมาตรการด้านข้อมูลต่างๆ โดยกำหนดเป็นวาระอย่างเป็นทางการเพื่อให้ทุกคนใองค์กรรับทราบร่วมกัน 

4. จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติ (สอดคล้องกับนโยบาย)  จำเป็นที่ต้องจัดทำเพื่อให้ทุกคนใองค์กรรับทราบและแก้ไขปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน

5. จัดอบรมให้กับบุคคลากรให้เข้าใจเกี่ยวกับกฏหมาย   การทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจอาจช่วยให้นำพาองค์กรให้ปฎิบัติได้ถูกกฎหมายระดับนึง แต่หากบุคคลากรได้รับความเข้าใจ และทราบถึงแก่นของกฎหมายPDPA  จึงจะร่วมกันปฏิบัติตามแนวทางได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด และลดช่องว่างที่จะเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้

6. จัดทำเอกสารเกี่ยวกับ PDPA  (เช่น เอกสารขอความยินยอม RoPA ฯลฯ)   ช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเข้าใจ รับรู้ว่าองค์กรทำตามกฎหมาย PDPA โดยเฉพาะนโยบายประกาศความเป็นส่วนตัว โดยเอกสารบางฉบับถือเป็นเอกสารบังคับที่องค์กรภาครัฐต้องทำ เช่น เอกสารขอความยินยอม และ RoPA  และอื่นๆ

7. จัดตั้งคณะ DPO   ในกฎหมายบัญญัติไว้ว่า องค์กรภาครัฐต้องแต่งตั้ง DPO เพื่อให้มีการดูแลข้อมูลฯ ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือ อาจะมีการจัดตั้ง DPO ร่วมในเครือข่ายเดียวกัน 

8. ทบทวน และจัดทำมาตรการรองรับกฏหมาย  ภายหลังการทำตามทั้ง 7 ข้อ การทบทวน และจัดทำมาตรการรองรับกฏหมาย ทุกครั้งที่มีการมีกิจกรรมการประมวลข้อมูลฯ ใหม่ เช่นการจัดทำโครงการใหม่ เป็นต้น

9. ประเมินการปฏิบัติ และรายงานต่อผู้บริหารสูงสุดขององค์กร  DPO จำเป็นที่ต้องมีการประเมินและรายงานต่อผู้อำนวยการ(อย่างน้อย)เดือนละครั้ง เพื่อเป็นการอัปเดต และเพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงปัญหา หรือวางแผนการดำเนินการต่อไป 

10. บริการประชาชนให้สอดคล้องตามบทบัญญัติ องค์กรภาครัฐจำเป็นที่ต้องมีการบริการประชาชนที่สอดคล้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เสมอ ตามพันธกิจหน้าที่ขององค์กร และเพื่อสร้างความหน้าเชื่อถือของหน่วย รวมถึงต้องไม่ลืมการให้สิทธิแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA

สุดท้าย อ. เยี่ยมศักดิ์ ได้กล่าวเสริมว่า ” ยังก็ตามหน่วยงานราชการจำเป็นต้องทำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือที่รู้จักกันในชื่อ OIA ให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งจริงๆแล้วหน่วยงานราชการก็ทำกันเรียบร้อยอยู่แล้ว แต่จะมีบางส่วนที่ PDPA เข้ามามีบทบาทเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลข่าวสารฯ   ดังนั้นหน่วยงานราชการต้องเรียนรู้ และทำในส่วนของPDPA  ที่เพิ่มเข้ามาด้วยครับ ”

ท่านสามารถชมคลิปงาน เสวนาในหัวข้อ ‘การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ’ ได้ที่ >>> คลิก

หรือสมัครเข้าโครงการ “การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ” โครงการเพื่อข้าราชการที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ และ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้ความรู้และความเข้าใจและสามารถเชื่อมโยงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ กับพระราชบัญญัติการคุุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมนำแนวทางการปฎิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับหน่วยงานราชการไปปฏิบัติที่หน่วยงานได้จริง รวม 6 รุ่น 

อ่านรายละเอียดโครงการ คลิก !

 

 

 

 

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

โครงการฝึกอบรม “การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ”

NEWS & ACTIVITIES
 
 
✨ ภาพบรรยากาศโครงการฝึกอบรม “การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ” รุ่นที่ 1  ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา  ณ Ambassador Hotel Bangkok
 
ด้วยนำทีมวิทยากรโดย :
อาจารย์เธียรชัย ณ นคร – ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร – ผู้ก่อต้ังสื่อ PDPA Thailand และประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI)
ผศ.ดร.ธีทัต ชวิศจินดา – ผู้อํานวยการศูนย์กฎหมายเพื่อการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาจารย์วนิดา สักการโกศล – อดีตผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการ
อาจารย์เยี่ยมศักดิ์ คุ้มอินทร์ – ข้าราชการบํานาญ (สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี) และอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาร่าง กฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
 
 
ด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อข้าราชการและบุคลากรของหน่วยงานรัฐ มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง การคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลตามพระราชข้อมูลข่าวสารของราชการ และพระะราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มากยิ่งขึ้น และสามารถปฏิบัติตามกฎหมายทั้งสองฉบับได้ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะได้รับวุฒิบัตรรับรองความรู้จากสมาคมฯ โดยที่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมที่หน่วยงานเห็นชอบและอนุมัติให้มาเข้าร่วมโครงการนี้ สามารถเบิกค่าลงทะเบียนเต็มจำนวนจากงบประมาณของของต้นสังกัดได้ (ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่3) พ.ศ.2555) ซึ่งแต่ละหน่วยงานสามารถพิจารณาส่งบุคลากรเรียนรู้ได้ตามโครงสร้างของหน่วยงาน เหมาะสมกับหน่วยราชการและองค์กรของรัฐทุกประเภท กระทรวง ทบวง กรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน มหาวิทยาลัย และโรงเรียน เป็นต้น
 
ภาพบรรยากาศงานอบรม รุ่นที่ 1  ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา  ณ Ambassador Hotel Bangkok

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

 

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

โครงการฝึกอบรม “การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ” รุ่นที่ 7

BLOG NEWS & ACTIVITIES
🔰 ภาพบรรยากาศบางส่วน ของโครงการอบรม “การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ” รุ่นที่ 7 วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565  ณ Ambassador Hotel Bangkok
 
ด้วยนำทีมวิทยากรโดย :
อาจารย์เธียรชัย ณ นคร – ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร – ผู้ก่อต้ังสื่อ PDPA Thailand และประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI)
ผศ.ดร.ธีทัต ชวิศจินดา – ผู้อํานวยการศูนย์กฎหมายเพื่อการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาจารย์วนิดา สักการโกศล – อดีตผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการ
อาจารย์เยี่ยมศักดิ์ คุ้มอินทร์ – ข้าราชการบํานาญ (สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี) และอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาร่าง กฎหมายเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน
 
🔹 โครงการเคลียร์ประเด็นด้านความแตกต่างระหว่าง กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ (OIA) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยมีแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลฯ ตามกฎหมายทั้งสองฉบับ และสามารถปรับใช้ในงานราชการได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับหน่วยงาน
 
ภาพบรรยากาศงานอบรม รุ่นที่ 7   ที่ผ่านมา  ณ Ambassador Hotel Bangkok

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

 

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

อ.เธียรชัย ณ นคร ร่วมมือ PDPA Thailand หารือปรับหลักสูตร OIA&PDPA

อ.เธียรชัย ณ นคร  ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการคุ้มครอง ร่วมหารือเรื่องปรับปรุง หลักสูตร “การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหน่วยงานภาครัฐ”  (OIA-PDPA)  กับ อาจารย์เยี่ยมศักดิ์ คุ้มอินทร์​ , อาจารย์วนิดา สักการโกศล และทีม PDPA Thailand  ณ ชั้น 10 อาคารภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (อาคาร 7) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ในวันที่ 1 ธันวาคม 2565

เนื่องจากมีหน่วยงานราชการทั่วประเทศ ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีการสมัครเข้ามาฝึกอบรบกับเรากันอย่างต่อเนื่อง ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาและทดสอบทักษะดิจิทัล (DDTI) ผู้ก่อตั้ง PDPA Thailand เล็งเห็นว่า ควรจัดอบรมจาก 1 วัน เป็น 2วัน และเพิ่มกิจกรรม Work Shop OIA&PDPA  เพื่อให้หน่วยงานรัฐได้ลงมือปฏิบัติจริง  สามารถเข้าใจและเห็นภาพกิจกรรมมากขึ้น 

“สิ่งที่น่ากังวลอีกเรื่องของภาครัฐ คือ การว่าจ้างให้เอกชลเข้ามาดำเนินการแทน ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลออกไปภายนอก ถามว่าหลังจากเสร็จงานแล้วข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ไหน หน่วยงานเอกชลได้เอาไปใช้ต่อหรือเปล่า ? หากข้อมูลส่วนบุคคลนั้นรั่วไหลขึ้นมา ภาครัฐรับผิดชอบเต็มๆนะครับ ” ดร.อุดมธิปก  กล่าว

ทางด้าน อ.เธียรชัย ณ นคร เห็นด้วยในทุกประเด็น และกล่าวเสริมจาก ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ว่า “อาจต้องมีการ PDPA In-House Training ให้กับองค์กรภาครัฐเพราะกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานมีภาระหน้าที่ และเงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่างกัน” 

nidalaw.or.th

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

Contact Us

  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | National Institute of Development Administration

  •  118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

Follow Us

Hello world!

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!